มีใครบ้าง! เปิดรายชื่อกนง. ‘5 ต่อ 2 เสียง’ ไม่ลดดอกเบี้ยตามคำขอ ‘เศรษฐา’
จากกรณีที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ ได้มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% โดยมี 2 เสียงให้ลดดอกเบี้ยลง 0.25% ซึ่งการคงดอกเบี้ยของ กนง.ในครั้งนี้ ถือเป็นการตัดสินใจที่ตรงกันข้ามกับคำขอของรัฐบาล และนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ที่ต้องการให้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ย เพราะเงินเฟ้อติดลบมาหลายเดือนแล้ว และกำลังเข้าสู่วิกฤติ
อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ถูกกำหนดโดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการหลักของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รับผิดชอบด้านการกำหนดทิศทางของนโยบายการเงินคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
คณะกรรมการนโยบายการเงินที่ คณะกรรมการ ธปท. แต่งตั้งขึ้นภายใต้ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงของ ธปท. 3 คน และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก 4 คน รวม 7 คน
รายชื่อคณะกรรมการ กนง. ได้แก่
- นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ประธานกรรมการ
- นางอลิศรา มหาสันทนะ รองประธานกรรมการ
- นางรุ่ง มัลลิกะมาส กรรมการ
- นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน กรรมการ
- นายรพี สุจริตกุล กรรมการ
- นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการ
- นายสันติธาร เสถียรไทย กรรมการ
จำนวนกรรมการทั้งหมด 7 คน มีผู้ว่าการ ธปท. เป็นประธาน เนื่องจากเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับมติที่ กนงคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. กำหนด และเพื่อให้มีการเชื่อมโยงกับคณะกรรมการด้านนโยบายอื่นๆ ของ ธปท. นอกจากนั้น มีรองผู้ว่าการอีก 2 คน และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกอีก 4 คน เป็นกรรมการใน กนง. เพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจผู้ว่าการตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระไม่ได้
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ดังนี้
- กำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินของประเทศ โดยคำนึงถึงแนวนโยบายแห่งรัฐ สภาวะเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ
- กำหนดนโยบายการบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราภายใต้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา
- กำหนดมาตรการที่จำเป็นเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายและนโยบายตาม (1) และ (2)
- ติดตามการดำเนินมาตรการของ ธปท. ตาม (3) ให้เป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ พ.ร.บ.ธปท. ฉบับใหม่ กำหนดให้ กนง. จัดทำเป้าหมายของนโยบายการเงินของปีถัดไปภายในเดือนธันวาคมของทุกปี เพื่อเป็นแนวทางให้แก่รัฐและ ธปท. ในการดำเนินการเพื่อดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพด้านราคา โดยทำความตกลงร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและให้รัฐมนตรีเสนอเป้าหมายของนโยบายการเงินที่ได้ทำความตกลงร่วมนั้น ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ และ กนง. มีหน้าที่รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะรัฐมนตรีทุก 6 เดือน
ความถี่ในการจัดประชุมประมาณทุก 7-10 สัปดาห์ (ปีละ 6 ครั้ง) กนง. จะประชุมร่วมกันเพื่อประเมินภาวะเศรษฐกิจและการเงิน รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะมีผลต่อแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เพื่อพิจารณากำหนดแนวนโยบายการเงินที่เหมาะสม